PBN เทคโนโลยีการเดินอากาศสมัยใหม่
ลดการปล่อย CO2 ลดโลกร้อน
" การนำเทคโนโลยี PBN มาใช้งานกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ จะเกิดประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศยานให้น้อยลง "
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำ กัดเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในกิจการบินของประเทศ ด้วยวิสัยทัศน์ในการมุ่งเป็นองค์กรแห่งความปลอดภัยด้วยการบริการการเดินอากาศ ที่มีการบริหารจัดการทันสมัย มีการกำกับดูแลที่ดี และคำนึงถึงการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกิจการบิน ซึ่งนอกเหนือจากการมุ่งเน้นความปลอดภัยและใส่ใจสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการจูงใจให้สายการบินเพิ่มปริมาณการใช้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นำมาซึ่งรายได้ให้กับประเทศและขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทาง
อากาศในอนาคต
PBN เทคโนโลยีการเดินอากาศสมัยใหม่…ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
พลอากาศเอก สมชาย เธียรอนันท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด กล่าวว่า จากนโยบายกระทรวงคมนาคมที่ต้องการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยมุ่งปรับปรุงระบบเทคโนโลยีการให้บริการการเดินอากาศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการเดินอากาศ ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โสภณ ซารัมย์ ที่มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงจัดทำโครงการ 1 หน่วยงาน 1 ผลงานชิ้นโบว์แดง เพื่อสร้างผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคมนาคมขนส่งโดยรวม
รองรับการเติบโตของการจราจรทางอากาศของประเทศ
ผลงานชิ้นโบว์แดงของ วิทยุการบินแห่งประเทศไทย คือ การพัฒนาแบบแผนการบินด้วยเทคโนโลยีการเดินอากาศสมัยใหม่ PBN (Performance Based Navigation) ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้อย่างเต็ม
รูปแบบตั้งแต่เมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต หาดใหญ่ กระบี่ และสมุย ปัจจ��บันอยู่ระหว่างการนำเทคโนโลยี PBN มาประยุกต์ใช้ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งคาดว่าจะดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จและใช้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบในเร็วๆ นี้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับสายการบิน ลดปริมาณเชื้อเพลิง และลดปริมาณการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็นคาร์บอนเครดิตให้ประเทศได้ถึง 160,000 คาร์บอนเครดิตต่อปี
พลอากาศเอก สมชาย กล่าวว่า “การนำเทคโนโลยี PBN เข้าใช้งาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นงานที่วิทยุการบินฯ ภูมิใจนำเสนอกระทรวงคมนาคมเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง เพราะการนำระบบ PBN เข้าใช้งานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำเทคโนโลยี PBN มาใช้งานกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ จะเกิดประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศยานให้น้อยลงPBN เทคโนโลยีกีการเดินินอากาศสมัยัยใหม่่
ลดการปล่อย CO2 ลดโลกร้อนความแม่นยำ ในการระบุตำแหน่งอากาศยาน ความสูงและเวลา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเส้นทางบินได้อย่างคล่องตัว ช่วยให้นักบินนำเครื่องบินร่อนลงสู่ท่าอากาศยาน
ได้รวดเร็ว แต่ละเที่ยวบินจึงประหยัดระยะเวลาขึ้น-ลงได้
ประมาณ 5 นาที ทั้งยังมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น”
ลดการใช้เชื้อเพลิงของอากาศยานได้ 200 กิโลกรัม/เที่ยวบิน
ด้วยเทคโนโลยีของระบบ PBN ทำให้สามารถประมาณเวลาเดินทางของเครื่องบินได้อย่างถูกต้องลดความล่าช้าในการเดินทาง โดยนำมาใช้ร่วมกับเทคนิคการบินด้วยแนวร่อนเสถียร (Continuous Descent Operations : CDO) ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะสำหรับเที่ยว
บินขาเข้า เปิดโอกาสให้อากาศยานสามารถลดระดับเพดานบินลงสู่สนามบินด้วยอัตราที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กำลังเครื่องยนต์น้อยที่สุด (Low Engine Thrust Settings) จึงสามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของอากาศยาน และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อนได้
“ ก า ร นำ เ ท คโ น โ ล ยี PBN ม า ใ ช้ง า น กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ จะเกิดประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอากาศยานให้น้อยลงเพราะผลการศึกษาการนำ PBN เข้าใช้งาน ผนวกกับเทคนิคการบินด้วยแนวร่อนเสถียรพบว่า สามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของอากาศยานลงได้ประมาณ 200กิโลกรัม/เที่ยวบินในการบินเข้าสู่สนามบิน”