หน้าเว็บ

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บ้านลอยน้ำ

" แบบบ้านลอยน้ำ"  โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง


สารอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

            จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ของผู้ประสบภัย กรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งมีภารกิจหลักประการหนึ่งคือการให้บริการแบบบ้านเพื่อประชาชนที่มีอยู่อย่างหลากหลาย
รูปแบบในระดับราคาต่างๆ กัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบ้านที่จะสามารถป้องกันภัยดังกล่าวได้ จึงได้เริ่มทำการศึกษาเพื่อการออกแบบ 
จากแหล่งต่างๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านท่าขนอน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งยังมีบ้านลอยน้ำ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ 

            27 กันยายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมายังกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อทรง
เปิดพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อได้ทอดพระเนตรนิทรรศการแบบบ้านเพื่อประชาชน
ของกรมฯ แล้วได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ “บ้านลอยน้ำ”

            กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้ออกแบบบ้านหลังนี้ขึ้นโดยปรับใช้แนวคิดจาก “บ้านลอยน้ำท่าขนอน” และเรือนแพของชาวบ้าน
ในอดีต นำมาประยุกต์ใช้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งในฤดูแล้งตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่เมื่อมีน้ำท่วมก็จะลอยขึ้น
ตามระดับน้ำได้ โดยจะมีการยึดตัวบ้านไว้กับเสาหลักทั้งที่มุมเพื่อป้องกันการโคลงตัวหรือลอยไปตามกระแสน้ำ และเมื่อระดับน้ำลดลง
ตัวบ้านก็จะกลับมาตั้งอยู่บนพื้นดินตามเดิม 

            ขนาดของบ้านลอยน้ำที่ได้ออกแบบขึ้นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของขนาดวัสดุสำเร็จรูปที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เพื่อให้เป็นการใช้
วัสดุที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้และทำการก่อสร้างได้ง่าย เนื่องจากมีระบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นรูปแบบอย่างง่าย 
ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านช่างในระดับทั่วไปก็จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้เอง 

            บ้านหลังนี้มีขนาดพื้นที่รวมประมาณ 60 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและการลอยน้ำ 
แต่หากมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้นก็อาจเชื่อมต่อหลายหลังเข้าด้วยกัน โดยใช้สะพานทางเช ื่อมพาดระหว่างชานรอบตัวบ้าน 

            สำหรับราคาค่าก่อสร้างประมาณการได้ว่ากรณีดำเนินการก่อสร้างเองจะมีราคาประมาณหลังละ 719,000 บาท หากจ้างเหมา
ราคาประมาณหลังละ 915,000 บาทเนื่องจากต้องมีการคิดค่าดำเนินการ กำไรและภาษีด้วย 

            แบบบ้านลอยน้ำของกรมโยธาธิการและผังเมืองนี้ น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้อง
อยู่อาศัยในพื้นที่ที่อาจต้องประสบภัยน้ำท่วมตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อยู่อาศัยในบริเวณเที่เป็นที่ลุ่ม โดยอาจปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงรูปแบบและพื้นที่ใช้สอยให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องตามความต้องการที่แท้จริงของตนเองต่อไป



ทัศนียภาพกลุ่มอาคาร

รูปด้านหลัง

รูปด้านซ้าย
รูปด้านขวา
รูปด้านหน้า
                                                                     รูปด้านล่าง


แนวคิด   ออกแบบขึ้นโดยแนวคิดเพื่อป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย
ตามฤดูกาล และตั้งอยู่บนพื้นดินในภาวะปกติ โดยให้บ้านทั้งหลัง
สามารถลอยสูงขึ้นได้ตามระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตามบ้านลอยน้ำ
นี้ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำไหลเชี่ยวกรากรุนแรง 

ขนาดพื้นที่   ประมาณ 60 ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย 23 
ตารางเมตร ส่วนทำอาหารห้องน้ำและซักล้าง รวม 37 ตารางเมตร 

ราคาค่าก่อสร้าง  โดยประมาณ 719,000 บาท (กรณีปลูกสร้างเอง) 
ไม่ต้องใช้ผู้รับจ้างเหมาและประมาณ 915,000 บาท (กรณีมีผู้รับจ้างเหมา) 

วัสดุก่อสร้าง ใช้วัสดุก่อสร้างพื้นฐานทั่วไปที่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด 
ซึ่งสามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ทุ่นลอยเป็นถังน้ำมัน
ขนาด 200 ลิตร หรือถังไฟเบอร์กลาสกรณีต้องการความทนทานเพิ่มขึ้น 

ระบบสุขาภิบาล  ใช้ระบบการย่อยสลายโดยมีถังบรรจุจุลินทรีย์ EM 
ติดตั้งอยู่ใต้ห้องน้ำเพื่อย่อยสลายและเร่งการตกตะกอนของสิ่งปฎิกูล



3 ความคิดเห็น:

  1. ของไทยก็เคยเห็นเป็นเรือนไทยลอยน้ำลำใหญ่มาก จุคนได้เป็นร้อยก็ไม่จม

    สำคัญที่ด้านล่างจะเป็นทุ่นเหมือนลูกบวบยาวเป็นสิบเมตร สี่ห้าลูกได้

    ประมาณในภาพนี้เลย

    ไปดูตอนเขาสร้าง มีช่างที่เขารับงานด้านนี้โดยเฉพาะ เชื่อมเหล็กกันเป็นวันๆ

    ตอบลบ
  2. บริษัทของเรานำเข้าบ้านน็อคดาวน์จากอเมริกา บ้านของเราสามารถถอดและประกอบใหม่ได้ ทนต่อแรงกระแทกและไฟ หากต้องการเห็นแบบบ้านเผื่อท่านจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เข้าไปดูได้ที่ e-mail.Facebook:pk_innovation@hotmail.com

    ตอบลบ
  3. แบบบ้านลอยน้ำ น่าสนใจมาก อนาคตชันจะสร้างบ้านลอยน้ำคร้า ติดต่อสถาปัตที่ไหนได้ ช่วยแนะนำหน่อยน่ะค่ะ ชอบมากๆๆๆๆ

    ตอบลบ