หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

PBN เทคโนโลยีการเดินอากาศสมัยใหม่


PBN เทคโนโลยีการเดินอากาศสมัยใหม่ 

ลดการปล่อย CO2 ลดโลกร้อน


          " การนำเทคโนโลยี PBN มาใช้งานกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ จะเกิดประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศยานให้น้อยลง "


          บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำ กัดเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในกิจการบินของประเทศ ด้วยวิสัยทัศน์ในการมุ่งเป็นองค์กรแห่งความปลอดภัยด้วยการบริการการเดินอากาศ ที่มีการบริหารจัดการทันสมัย มีการกำกับดูแลที่ดี และคำนึงถึงการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกิจการบิน ซึ่งนอกเหนือจากการมุ่งเน้นความปลอดภัยและใส่ใจสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการจูงใจให้สายการบินเพิ่มปริมาณการใช้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นำมาซึ่งรายได้ให้กับประเทศและขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทาง
อากาศในอนาคต

PBN เทคโนโลยีการเดินอากาศสมัยใหม่…ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

          พลอากาศเอก สมชาย เธียรอนันท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด กล่าวว่า จากนโยบายกระทรวงคมนาคมที่ต้องการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยมุ่งปรับปรุงระบบเทคโนโลยีการให้บริการการเดินอากาศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการเดินอากาศ ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โสภณ ซารัมย์ ที่มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงจัดทำโครงการ 1 หน่วยงาน 1 ผลงานชิ้นโบว์แดง เพื่อสร้างผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคมนาคมขนส่งโดยรวม
รองรับการเติบโตของการจราจรทางอากาศของประเทศ
          ผลงานชิ้นโบว์แดงของ วิทยุการบินแห่งประเทศไทย คือ การพัฒนาแบบแผนการบินด้วยเทคโนโลยีการเดินอากาศสมัยใหม่ PBN (Performance Based Navigation) ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้อย่างเต็ม
รูปแบบตั้งแต่เมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต หาดใหญ่ กระบี่ และสมุย ปัจจ��บันอยู่ระหว่างการนำเทคโนโลยี PBN มาประยุกต์ใช้ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งคาดว่าจะดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จและใช้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบในเร็วๆ นี้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับสายการบิน ลดปริมาณเชื้อเพลิง และลดปริมาณการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็นคาร์บอนเครดิตให้ประเทศได้ถึง 160,000 คาร์บอนเครดิตต่อปี
          พลอากาศเอก สมชาย กล่าวว่า “การนำเทคโนโลยี PBN เข้าใช้งาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นงานที่วิทยุการบินฯ ภูมิใจนำเสนอกระทรวงคมนาคมเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง เพราะการนำระบบ PBN เข้าใช้งานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำเทคโนโลยี PBN มาใช้งานกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ จะเกิดประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศยานให้น้อยลงPBN เทคโนโลยีกีการเดินินอากาศสมัยัยใหม่่
ลดการปล่อย CO2 ลดโลกร้อนความแม่นยำ ในการระบุตำแหน่งอากาศยาน ความสูงและเวลา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเส้นทางบินได้อย่างคล่องตัว ช่วยให้นักบินนำเครื่องบินร่อนลงสู่ท่าอากาศยาน
ได้รวดเร็ว แต่ละเที่ยวบินจึงประหยัดระยะเวลาขึ้น-ลงได้
ประมาณ 5 นาที ทั้งยังมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น”

ลดการใช้เชื้อเพลิงของอากาศยานได้ 200 กิโลกรัม/เที่ยวบิน

          ด้วยเทคโนโลยีของระบบ PBN ทำให้สามารถประมาณเวลาเดินทางของเครื่องบินได้อย่างถูกต้องลดความล่าช้าในการเดินทาง โดยนำมาใช้ร่วมกับเทคนิคการบินด้วยแนวร่อนเสถียร (Continuous Descent Operations : CDO) ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะสำหรับเที่ยว
บินขาเข้า เปิดโอกาสให้อากาศยานสามารถลดระดับเพดานบินลงสู่สนามบินด้วยอัตราที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กำลังเครื่องยนต์น้อยที่สุด (Low Engine Thrust Settings) จึงสามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของอากาศยาน และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อนได้

          “ ก า ร นำ เ ท คโ น โ ล ยี PBN ม า ใ ช้ง า น กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ จะเกิดประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอากาศยานให้น้อยลงเพราะผลการศึกษาการนำ PBN เข้าใช้งาน ผนวกกับเทคนิคการบินด้วยแนวร่อนเสถียรพบว่า สามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของอากาศยานลงได้ประมาณ 200กิโลกรัม/เที่ยวบินในการบินเข้าสู่สนามบิน”





Green IT


Green IT วิธีสร้างสีเขียวให้กับโลกไอที




เข้าสู่ช่วงเดือนมิถุนายน รู้หรือไม่ว่า? ในวันที่ 1 – 7 มิถุนายน ของทุกปีเป็นสัปดาห์แห่งการรณรงค์ไอทีสีเขียว Green IT Week ที่จัดกันในทุกปี โดยมีความร่วมมือจากประเทศต่างๆเข้าร่วมรณรงค์  37 ประเทศ  รวมทั้งประเทศไทยด้วย  โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการบริจาค จัดนิทรรศการออนไลน์ ผ่านทางSocial media  มีสัมมนาความรู้ งานวิจัย หนังสือ และกิจกรรมรณรงค์อื่นๆ เกี่ยวกับการใช้ไอทีสีเขียว


ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้ทั้งคอมพิวเตอร์ ทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบพกพา รวมถึงเครื่องเล่นเกมต่างๆมากมายหลายรุ่น เท่านั้นไม่พอ ยังมีพวกโทรศัพท์มือถือที่ทุกท่านได้ใช้ในการติดต่อสื่อสารและแชร์เรื่องราวผ่านสังคมออนไลน์ รวมไปถึงในปีนี้เป็นยุคแห่งแท๊บเล๊ทด้วยที่กำลังมาแรงมาก ณ เวลานี้ ทำให้คนสนใจเครื่องใช้ไอทีมากขึ้น  ยิ่งของใหม่มาเมื่อไหร่คนก็จะเอาของเก่าที่สภาพเก่าๆไม่น่าใช้ทิ้งไปแล้วมาซื้อ ของใหม่ จากสิ่งที่ทิ้งไปนั้น กำลังเป็นปัญหาที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโลกของเรา เพราะของเก่าที่ทิ้งไปนั้นเป็นขยะที่สร้างมลพิษและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และโลกของเรา  เรียกว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ขยะไฮเทคสาเหตุที่เกิดขยะพวกนี้ เกิดขึ้นการผลิตและใช้อุปกรณ์ไอทีแบบไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม


ในวันนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างร่วมมือกันแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ และช่วยโลกด้วยไอทีสีเขียว โดยการสร้าง, การใช้ และการประยุกต์ใช้ไอทีอย่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมกันเพิ่มมากขึ้น
คุณก็สามารถช่วยโลกได้ด้วยการซื้อสินค้าไอทีที่ผลิตโดยบริษัทที่ใช้ทักษะทางวิศวกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุน  สามารถนำมาใช้ใหม่ได้   มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์กให้ใช้ได้หลากหลายวัตถุประสงค์มากขึ้น  เช่นซอฟต์แวร์ทำงานได้หลายประเภทไม่เฉพาะเจาะจงจนเกินไป ใช้เวลาคำนวณน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์รวดเร็วขึ้น จะได้กินไฟน้อยลง


ปรับกระบวนการผลิตใหม่ ลดการใช้พลังงาน และทรัพยากร เช่นไฟฟ้า น้ำ และกระดาษในการผลิตสินค้า , หาวัตถุดิบที่ย่อยสลายได้ ลดการปล่อยมลพิษหรือของเสีย และขยะไอที
ลองสังเกตบรรจุภัณฑ์ของพวกโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ไอที คอมพิวเตอร์ รุ่นใหม่ๆ เดี๋ยวนี้เขาพยายามลดการสิ้นเปลืองของวัตถุดิบด้วยการ”ทำแต่พอดี”ไม่ได้ใหญ่เทอะทะเหมือนอดีต และมีกระบวนการผลิตที่นำกล่องนี้สามารถย่อยสลายได้ สามารถนำมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้  หรือการใช้ไอทีมาเป็นตัวควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือใช้ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับอากาศภายในบ้าน , อาคารต่างๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสิ่งแวดล้อมได้


เราผู้ใช้ไอที สามารถปรับพฤติกรรม เพื่อให้โลกนี้น่าอยู่ ด้วยวิธีง่ายๆดังนี้

-     ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ หรือโทรศัพท์มือถือ ให้ความสว่างเหมาะสม
-     ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเมื่อไม่ใช้งาน
-     วางแผนใช้เครือข่ายอย่างคุ้มค่า
-     ปรับสภาพแวดล้อมการใช้งาน เช่นปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสมเพื่อยืดอายุและเพิ่มสมรรถนะของเครื่อง
-     เปลี่ยนเครื่องที่เก่า กินไฟมากเป็นเครื่องใหม่ที่ประสิทธิภาพสูงกว่า

ตอนนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนับวันยิ่งใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวนผิดปกติ และภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยมากขึ้น อย่างพายุ แผ่นดินไหว น้ำท่วม พวกเราชาวไอทีก็ต้องช่วยกัน มาร่วมรวมพลังสร้างไอทีให้มีสีเขียว ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้งานไอทีให้คุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ง่ายๆเริ่มต้นที่ตัวคุณ

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บ้านประหยัดพลังงาน

บ้านประหยัดพลังงาน - Meera House สร้างความเป็นส่วนตัวด้วยสีเขียวของธรรมชาติ







         คงไม่ผิดนักที่เราอาจจะคิดว่าทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์อาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้เจ้าของบ้านหลังนี้อย่างแน่นอน! The Meera House บ้านที่มองไปทางไหนก็เห็นแต่สีเขียว ซึ่งถูกคลุมโทนด้วยสนามหญ้าและไม้ดอก ไม้ประดับนานาชนิดซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ของ Sentosa island ไกล้กับสิงคโปร์ บ้านฟอกอากาศหลังนี้ (วันวาเลนไทน์ขอเล่นคำนิดหน่อย) ถูกออกแบบโดย Guz Architects ซึ่งได้นำความเขียวชอุ่มมาเป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบให้ทุกๆ พื้นที่พักอาศัยไกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด โดยเฉพาะหลังคาผืนหญ้าสีเขียว โค้งงอลดหลั่นเป็นระดับมองดูคล้ายกับทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์!
         แรกเริ่มแนวคิดการออกแบบ สถาปนิคก็ต้องเจอกับปัญหาที่เจ้าของบ้านทุกๆ หลังพบเจอกันหมดคือ พื้นที่ความเป็นส่วนตัวมีน้อย (อาจสืบเนื่องจากพื้นที่ราคาแพงและมีจำกัด) บ้านแต่ละหลังถูกปลูกให้อยู่ ไกล้กันมากแม้จะเป็นบ้านเดี่ยวก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องง่ายมากที่เพื่อนบ้านจะได้ยิน หรือเข้ามามีส่วนร่วมกับทุกๆ กิจกรรมของบ้านอีกหลังหนึ่งโดยไม่ตั้งใจ เมื่อรับรู้ถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี Guz จึงตัดสินใจสร้างกำแพงล้อมรอบตัวบ้านเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัยโดยไม่สร้างปัญหาเรื่องสภาพภูมิทัศน์ของเพื่อนบ้านแต่อย่างใด
         วิธีการปรับสภาพภูมิทัศน์ขึ้นมาใหม่โดยไม่กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านด้วยวิธีของ Guz ก็คือ การสร้างสวนบนระเบียงในแต่ละชั้นของบ้าน "จุดประสงค์เพื่อให้ความรู้สึกว่าแต่ละชั้นของบ้านตั้งอยู่บนพื้นดินที่ถูกปกคลุมไปด้วยสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า มองมาจากทิศทางไหนก็เห็นแต่สี เขียวของธรรมชาติ" Guz บอกไว้อย่างนั้น นอกจากนี้ Guz ยังเพิ่มพื้นที่ส่วนกลางของบ้านให้โปร่งโล่ง รวมทั้งช่องว่างของบรรไดของแต่ละชั้นเพื่อรับแสงสว่างในช่วงกลางวัน ช่วยให้กำแพงที่สร้างขึ้นนั้นไม่ปิดกั้นการหมุนเวียนของอากาศดีๆ จากทะเลสวยๆ ของ Sentosa island ที่จะเข้ามาภายในบ้าน






วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บ้านลอยน้ำ

" แบบบ้านลอยน้ำ"  โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง


สารอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

            จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ของผู้ประสบภัย กรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งมีภารกิจหลักประการหนึ่งคือการให้บริการแบบบ้านเพื่อประชาชนที่มีอยู่อย่างหลากหลาย
รูปแบบในระดับราคาต่างๆ กัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบ้านที่จะสามารถป้องกันภัยดังกล่าวได้ จึงได้เริ่มทำการศึกษาเพื่อการออกแบบ 
จากแหล่งต่างๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านท่าขนอน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งยังมีบ้านลอยน้ำ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ 

            27 กันยายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมายังกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อทรง
เปิดพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อได้ทอดพระเนตรนิทรรศการแบบบ้านเพื่อประชาชน
ของกรมฯ แล้วได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ “บ้านลอยน้ำ”

            กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้ออกแบบบ้านหลังนี้ขึ้นโดยปรับใช้แนวคิดจาก “บ้านลอยน้ำท่าขนอน” และเรือนแพของชาวบ้าน
ในอดีต นำมาประยุกต์ใช้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งในฤดูแล้งตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่เมื่อมีน้ำท่วมก็จะลอยขึ้น
ตามระดับน้ำได้ โดยจะมีการยึดตัวบ้านไว้กับเสาหลักทั้งที่มุมเพื่อป้องกันการโคลงตัวหรือลอยไปตามกระแสน้ำ และเมื่อระดับน้ำลดลง
ตัวบ้านก็จะกลับมาตั้งอยู่บนพื้นดินตามเดิม 

            ขนาดของบ้านลอยน้ำที่ได้ออกแบบขึ้นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของขนาดวัสดุสำเร็จรูปที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เพื่อให้เป็นการใช้
วัสดุที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้และทำการก่อสร้างได้ง่าย เนื่องจากมีระบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นรูปแบบอย่างง่าย 
ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านช่างในระดับทั่วไปก็จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้เอง 

            บ้านหลังนี้มีขนาดพื้นที่รวมประมาณ 60 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและการลอยน้ำ 
แต่หากมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้นก็อาจเชื่อมต่อหลายหลังเข้าด้วยกัน โดยใช้สะพานทางเช ื่อมพาดระหว่างชานรอบตัวบ้าน 

            สำหรับราคาค่าก่อสร้างประมาณการได้ว่ากรณีดำเนินการก่อสร้างเองจะมีราคาประมาณหลังละ 719,000 บาท หากจ้างเหมา
ราคาประมาณหลังละ 915,000 บาทเนื่องจากต้องมีการคิดค่าดำเนินการ กำไรและภาษีด้วย 

            แบบบ้านลอยน้ำของกรมโยธาธิการและผังเมืองนี้ น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้อง
อยู่อาศัยในพื้นที่ที่อาจต้องประสบภัยน้ำท่วมตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อยู่อาศัยในบริเวณเที่เป็นที่ลุ่ม โดยอาจปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงรูปแบบและพื้นที่ใช้สอยให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องตามความต้องการที่แท้จริงของตนเองต่อไป



ทัศนียภาพกลุ่มอาคาร

รูปด้านหลัง

รูปด้านซ้าย
รูปด้านขวา
รูปด้านหน้า
                                                                     รูปด้านล่าง


แนวคิด   ออกแบบขึ้นโดยแนวคิดเพื่อป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย
ตามฤดูกาล และตั้งอยู่บนพื้นดินในภาวะปกติ โดยให้บ้านทั้งหลัง
สามารถลอยสูงขึ้นได้ตามระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตามบ้านลอยน้ำ
นี้ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำไหลเชี่ยวกรากรุนแรง 

ขนาดพื้นที่   ประมาณ 60 ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย 23 
ตารางเมตร ส่วนทำอาหารห้องน้ำและซักล้าง รวม 37 ตารางเมตร 

ราคาค่าก่อสร้าง  โดยประมาณ 719,000 บาท (กรณีปลูกสร้างเอง) 
ไม่ต้องใช้ผู้รับจ้างเหมาและประมาณ 915,000 บาท (กรณีมีผู้รับจ้างเหมา) 

วัสดุก่อสร้าง ใช้วัสดุก่อสร้างพื้นฐานทั่วไปที่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด 
ซึ่งสามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ทุ่นลอยเป็นถังน้ำมัน
ขนาด 200 ลิตร หรือถังไฟเบอร์กลาสกรณีต้องการความทนทานเพิ่มขึ้น 

ระบบสุขาภิบาล  ใช้ระบบการย่อยสลายโดยมีถังบรรจุจุลินทรีย์ EM 
ติดตั้งอยู่ใต้ห้องน้ำเพื่อย่อยสลายและเร่งการตกตะกอนของสิ่งปฎิกูล